แนวคิดพื้นฐานสําหรับการสร้างภาพเคลื่อนไหว
การสร้างผลงานด้วยโปรแกรม Flash จะเป็นงานในลักษณะ 2 มิติ ดังนั้น การเคลื่อนไหวต่าง ๆ ที่จะสามารถทําขึ้นได้อย่างสะดวกก็มักจะเป็นเทคนิคที่ไม่ซับซ้อนมากเท่าใด มีแนวคิดหลายอย่าง ที่น่าสนใจเกี่ยวกับการสร้างภาพเคลื่อนไหว เพื่อเป็นแนวทางพื้นฐานก่อนการสร้างผลงานด้วยโปรแกรม Adobe Flash CS6 คือ
1. การซูม (Zoom In/Out) การซูมภาพเป็นหลักการในการขยายรูปหรือย่อส่วนรูป โดยใช้ การปรับขนาด Scale เพื่อให้มีการเคลื่อนไหวเป็นลําดับของการย่อและขยายชิ้นงาน
2.การหมุน (Rotate) เราจะใช้หลักการหมุนในการสร้างภาพแอนิเมชันเพื่อทําการหมุนภาพ ไปในทิศทางที่ต่างกัน เพื่อให้เกิดภาพเคลื่อนไหวเช่นเดียวกับการสร้างพัดลมหรือพายุหมุน โดย - การใช้คําสั่ง Rotate เพื่อให้มีการเคลื่อนไหวเป็นลําดับของการขยับชิ้นงานรอบจุดหมุน
3.การเขย่าภาพ (Tilting) หลักการเขย่าภาพนี้เหมาะสําหรับการสร้างภาพเคลื่อนไหวในลักษณะ ที่ทําให้ภาพเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งขยับขึ้น – ลงสลับกันไป
4.การวิ่งตามภาพ (Tracking) เทคนิคในการวิ่งตามภาพนี้จะนิยมนําไปใช้ในการเล่นเกม ซึ่งอาจ จะใช้เทคนิคการ Scale ผสมผสานกับ Pan, Tilting รวมถึงใช้เอฟเฟ็กต์ต่าง ๆ เข้าช่วยที่ค่อนข้างจะยาก และซับซ้อนขึ้นมาอีกก็ได้
5.การทําทรานซิชัน (Transition) จะมีลักษณะคล้ายกับการนําเสนองานควยเบ เที่ตอนเปิดฉากคันระหว่างภาพจะมีการใช้เอฟเฟ็กต์ตัวละลาย กวาดภาพ ขวาบ้าง หรือจากมุมบ้างสลับกันไป ส่วนการสร้างงานใน Flash CS6 อาจจะใช้เทคนิคการทําเลเยอร์มาสค
มาช่วยได้เช่นกัน
6.การปรับความโปร่งใสของภาพ (Alpha) เทคนิคนี้จะนิยมใช้กันมากในการสร้างงานด้วย Flash CS6 โดยการปรับความโปร่งใสของภาพให้ค่อย ๆ ปรากฏชิ้นงานชัดเจนขึ้นมาเรื่อย ๆ หรือค่อย ๆ เลือนหายไปทีละนิด หรือเกิดภาพชิ้นงานซ้อนกันได้
7.กําหนดทิศทางของชิ้นงานด้วย Guide Layer การกําหนดเส้นทางให้ชิ้นงานเคลื่อนไหว ไปตามทิศทางที่ต้องการ มีความยืดหยุ่นมากสําหรับการสร้างภาพเคลื่อนไหวที่สลับซับซ้อน
8.การเปลี่ยนรูป (Shape Tween) หากได้รู้จักโปรแกรม Flash CS6 เป็นอย่างดีแล้วก็จะ สามารถใช้เทคนิค Shape Tween ทําให้เปลี่ยนรูปสลับกับข้อความไปมาได้
9.การสร้างเกม ในการสร้างเกมด้วยโปรแกรม Flash CS6 นั้นจะต้องใช้การเขียน ActionScript เข้ามาช่วย ซึ่งจะต้องมีการศึกษาและทําความเข้าใจจึงจะสามารถนําไปเขียนให้เป็นเกมที่มีความน่าสนใจ ได้เป็นอย่างดี
10.การปิด - เปิดรูป หากจะทําตาของตัวการ์ตูนให้ปิด - เปิดได้ ก็สามารถทําได้ด้วยการสร้างปุ่ม (Button) หรือการกําหนดที่เฟรมต่าง ๆ ที่ละเฟรมให้มีการเปิด - ปิดลูกตา หรือเกลือกกลิ้งได้ตามที่ ต้องการ
สร้างการเคลื่อนไหวด้วยตัวเอง
ชนิดของภาพเคลื่อนไหว
1. เคลื่อนไหวแบบเฟรมต่อเฟรม (Frame by Frame Animation) คือ การสร้างคีย์เฟรม หลาย ๆ เฟรมเรียงต่อกัน โดยแต่ละเฟรมจะมีเนื้อหาที่เป็นภาพนิ่งและค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปทีละเฟรม เมื่อมีการแสดงจะทําให้มองเห็นการเคลื่อนไหวเกิดขึ้น
2. เคลื่อนไหวแบบทวีน (Tween Animation) คือ การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบอัตโนมัติ โดยสร้างเพียงแค่เนื้อหาในเฟรมเริ่มต้นและเฟรมสุดท้ายเท่านั้น ส่วนการเคลื่อนไหวที่อยู่ในเฟรม ระหว่างกลางโปรแกรมจะสร้างขึ้นให้อัตโนมัติตามลักษณะต่าง ๆ ที่ได้เลือกไว้ ซึ่งภาพเคลื่อนไหวแบบ ทวีนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
2.1 Motion Tween เปลี่ยนแปลงแบบเคลื่อนที่ คือ การเปลี่ยนตําแหน่งหรือทิศทาง และรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของตัวออบเจ็กต์เอง เช่น การเปลี่ยนขนาด การเปลี่ยน และการจางหาย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังสามารถสร้างเส้นทางการเคลื่อนที่ให้ออบเจ็กต์ได้อีกด้วย
2.2 Shape Tween เปลี่ยนแปลงรูปร่าง โดยเปลี่ยนจากรูปร่างหนึ่งไปเป็นอีกรูปร่างหนึ่งโดยโปรแกรมจะสอดแทรกคาการเปลี่ยนรูปร่างของออบเจกตในเฟรมที่อยู่ระหว่างนั้นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น