เลเยอร์ (Layer)
เลเยอร์เปรียบเสมือนกับแผ่นใสหลาย ๆ แผ่นวางซ้อนกัน โดยในเลเยอร์ที่ไม่มีรูปจะสามารถ มองเห็นเลเยอร์ที่อยู่ด้านล่าง สําหรับการสร้างชิ้นงานหรือภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ ด้วย Flash ควรแยก ชิ้นงานออกเป็นอิสระจากกันในแต่ละเลเยอร์ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการแก้ไขและปรับแต่งชิ้นงาน ได้ง่ายยิ่งขึ้น
การใช้งานเลเยอร์
วิธีการสร้างเล ใหม่
วิธีที่ 1 เลือกเมนู Insert > Timeline > Layer
วิธีที่ 2 คลิกขวาที่เลเยอร์ แล้วเลือกคําสั่ง Insert Layer
วิธีที่ 3 คลิกที่ปุ่ม New Layer ด้านล่างของไทม์ไลน์
การลบเลเยอร์
เมื่อต้องการลบเลเยอร์ที่ไม่ใช้ทิ้งไป สามารถทําได้ 2 วิธี ดังนี้
1. เลือกเลเยอร์ที่ต้องการ แล้วคลิก Delete Layer ด้านล่างของไทม์ไลน์
2. คลิกขวาบนเลเยอร์ที่ต้องการลบ แล้วคลิกคําสั่ง Delete Layer
การเปลี่ยนชื่อเลเยอร์
ในมูฟวีที่ซับซ้อนเรามักจะต้องสร้างเลเยอร์ขึ้นมาเป็นจํานวนมาก ดังนั้น เพื่อให้ง่ายต่อการจดจํา และแก้ไข เราควรเปลี่ยนชื่อเลเยอร์ให้สอดคล้องกับเนื้อหาในเลเยอร์นั้น วิธีการเปลี่ยนชื่อเลเยอร์ทําดังนี้
1. ดับเบิ้ลคลิกบนชื่อเลเยอร์ที่ต้องการเปลี่ยน
2. ป้อนชื่อใหม่ลงไปแทน
3. กดปุ่ม Enter
การจัดลําดับเลเยอร์
ลําดับชั้นของเลเยอร์จะส่งผลต่อการซ้อนทับกันของออบเจ็กต์ที่ปรากฏบนสเตจ โดยออบเจ็กต์ ของเลเยอร์ด้านบนจะปรากฏอยู่เหนือออบเจ็กต์ของเลเยอร์ด้านล่างเสมอ
การเปลี่ยนลําดับชั้นของเลเยอร์ สามารถทําได้โดยคลิกลากเลเยอร์ที่ต้องการย้ายไปแทรกไว้ ตรงตําแหน่งใหม่ โดยสังเกตว่ามีเส้นประสีเทาปรากฏขึ้นมาตรงตําแหน่งที่ต้องการก่อนจึงปล่อยเมาส์
1. คลิกเมน File > Import to Library... เพื่อทําการดึงไฟล์ภาพจากภายนอกเข้ามาใช้งาน
2. ดับเบิ้ลคลิกไฟล์รูปที่ต้องการเพื่อนําไปเก็บไว้ในหน้าต่างไลบรารี่ จํานวน 2 รูป
3. หากพาเนล Library ไม่ปรากฏขึ้นมาให้คลิกที่ Window > Library หรือกดปุ่ม Ctrl + L
เทคนิคการใช้เลเยอร์มาส์ค (Layer Mask)
เลเยอร์มาส์ค หมายถึง วิธีการสร้างเลเยอร์ที่เสมือน เป็นการเจาะช่องเอาไว้เพื่อให้สามารถมองทะลุไปยังเลเยอร์อื่น ที่อยู่ในลําดับถัดลงไป ซึ่งเราสามารถกําหนดลักษณะของช่องนี้ได้ ตามปกติ และมักจะกําหนดให้มีการเคลื่อนไหวเหมือนกับล่องหน ไปบนเลเยอร์ในลําดับถัดไป ซึ่งสามารถทําได้ดังนี้
1. เปิดมูฟวีใหม่ คลิกเมนู File > New
2.คลิกที่เมนู File > Import > Import to Stage
3. คลิกเลือกรูปที่จะ Import ขึ้นมา
4. คลิกปุ่มเพิ่มเลเยอร์เพื่อเพิ่มเลเยอร์ขึ้นมาอีก 1 เลเยอร์ ในที่นี้จะได้ชื่อว่า “Layer 2”
5. คลิกปุ่ม Oval Tool สร้างวงรีขึ้นมา 1 วง ในเลเยอร์ 2 ให้มีความสูงมากกว่ารูป และวางอยู่ด้านซ้ายมือของรูป
6. คลิกที่วงรี แล้วคลิกขวาเลือกเมนู Convert to Symbol
7. ที่ช่อง Name ให้ใส่ชื่อที่ต้องการ
8. ที่ช่อง Type เลือก Graphic 9. คลิกปุ่ม OK
10 คลิกเฟรมที่ 15 เลเยอร์ 2 แล้วกดปุ่ม <F6> หรือคลิกขวาเลือกเมนู Insert Keyframe เพื่อ สร้างคีย์เฟรมใหม่
11. คลิกเฟรมที่ 15 เลเยอร์ 1 แล้วกดปุ่ม <F6> หรือคลิกขวาเลือกเมนู Insert Keyfrannะ เพื่อ สร้างคีย์เฟรมใหม่
12. ในขณะที่มีการเลือกเฟรมที่ 15 นั้น คลิกที่วงรีแล้วลากมาวางทับรูป
13. คลิกขวาที่เลเยอร์ 2 แล้วคลิกเมนู Create Motion Tween
14. ลดปน Enter2 1 ครั้ง เพื่อทดสอบการเคลื่อนไหวของวงรี หากมีการเลื่อนตําแหน่งจาก ซ้ายมาขวาก็แสดงว่าสามารถใช้งานได้ตามที่ต้องการ
15. คลิกขวาที่ชื่อ Layer 2 เลือกเมนู Mask
16. ทดสอบการสร้างMaskเลือกเมนู Windows > Toolbar > Controller และให้คลิกที่ปุ่ม
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของเลเยอร์มาส์ค สามารถนําไปประยุกต์ใช้งานได้กับการสร้างผลงาน แอนิเมชันโดยทั่วไป เช่น การทําตัวหนังสือให้คล้ายกับมีไฟสปอตไลท์ส่องอยู่ หรือการทําคลื่นน้ำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น