หน่วยที่ 6

  รู้จักกับ Timeline
         ไทม์ไลน์ (Timeline) เป็นส่วนที่ใช้ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของภาพและสามารถวางเสียง เข้าไปได้ ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ เลเยอร์ (Layer) และเฟรม (Frame) เลเยอร์นั้นเปรียบเสมือน เป็นแผ่นใสที่ใช้จัดวางออบเจ็กต์หลาย ๆ ชั้นให้เรียงซ้อนกัน ส่วนเฟรมเปรียบเทียบได้กับช่องที่ใช้บรรจุ เนื้อหาเพื่อแบ่งภาพเคลื่อนไหวออกเป็นขั้นตอนย่อย ๆ เหมือนกับเป็นภาพนิ่งหรือฟิล์มภาพยนตร์แต่ละ ภาพมารวมกันหลาย ๆ ภาพเพื่อความสมบูรณ์
ส่วนประกอบของไทม์ไลน์
ไทม์ไลน์มีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน คือ เลเยอร์และเฟรม แต่ภายในเลเยอร์และเฟรมยังมีส่วน ประกอบย่อยอื่นอีกมากมาย

 รู้จักกับเลเยอร์ (Layer) 
           เลเยอร์เปรียบเสมือนกับแผ่นใสหลาย ๆ แผ่นวางซ้อนกัน โดยในเลเยอร์ที่ไม่มีรูปจะสามารถ มองเห็นเลเยอร์ที่อยู่ด้านล่าง สําหรับการสร้างชิ้นงานหรือภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ด้วย Flash ควรแยกชิ้นงาน เป็นอิสระจากกันออกไปในแต่ละเลเยอร์ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการแก้ไขและปรับแต่งชิ้นงานได้ง่าย ยิ่งขึ้น

 เฟรม (Frame)
          เฟรมจะอยู่ในส่วนของหน้าต่างไทม์ไลน์ ลักษณะจะเป็นช่องสี่เหลี่ยม ๆ เล็ก ๆ เรียงต่อกันไป ตามแนวนอน เฟรมจะทําหน้าที่ในการแจกแจงรายละเอียดความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของชิ้นงานที่ปรากฏ
บน Stage
หมายเลขเฟรม (Frame Number)
หมายเลขเฟรมเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่อยู่บน Timeline ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่บนสุดอยู่เหนือเฟรม ทั้งหลายขึ้นไป โดยจะแสดงเป็นตัวเลข 1, 5, 10, ... โดยที่ตัวเลขนี้ หมายถึง ลําดับที่ของเฟรมที่เรียง กันไปเรื่อย ๆ ซึ่งในแต่ละขีดเล็ก ๆ ที่ยังไม่ได้แสดงหมายเลขเฟรมเอาไว้นั้นจะมีหมายเลขเฟรมกํากับอยู่ ในตัวด้วยเช่นกัน
หัวอ่าน (Play Head)
เป็นเส้นสีแดงคอยบอกตําแหน่งว่ากําลังทํางานอยู่ที่เฟรมใด เราสามารถกดปุ่ม Enter เพื่อให้ หัวอ่านเคลื่อนที่เพื่อดูภาพเคลื่อนไหวที่เราทําไว้ตรงสเตจได้โดยที่ไม่ต้องรันโปรแกรม
ชนิดของเฟรม
เฟรมแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ คีย์เฟรม (Keyframe) และเฟรมระหว่างกลาง (In - Between Frame)
1. คีย์เฟรม (Keyframe) คือ เฟรมที่มีออบเจ็กต์วางอยู่ ซึ่งออบเจ็กต์นั้นสามารถเลือก แก้ไข หรือปรับแต่งต่าง ๆ ได้ โดยในช่องเฟรมจะเปลี่ยนจากรูป     (เฟรมเปล่า)      เป็นรูป  (คีย์เฟรม) สําหรับคีย์เฟรม 1 ช่อง จะใช้แสดงภาพนิ่ง 1 จังหวะ แต่หากต้องการสร้างภาพเคลื่อนไหวแล้วต้องเพิ่ม คีย์เฟรมเข้ามาหลายเฟรมเพื่อใส่ออบเจ็กต์ภาพนิ่งในแต่ละจังหวะ ซึ่งหลักการนี้สามารถสร้างภาพ เคลื่อนไหวแบบ Frame - by - Frame ได้
2. เพรมระหว่างกลาง (In - Between Frame) คือ เฟรมที่ใช้ขยายช่วงเวลาในการแสดง เนื้อหาของคีย์เฟรมให้ยาวขึ้น ดังนั้น จึงไม่สามารถเลือกหรือปรับแต่งเนื้อหาที่แสดงในเฟรมระหว่างกลางได้ แต่อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาที่ขยายอาจกําหนดให้ออบเจ็กต์ในคีย์เฟรมเคลื่อนไหวได้ หรืออาจแสดงเป็น เพียงภาพนิ่งก็ได้เช่นกัน โดยจะแสดงสัญลักษณ์ของเฟรมต่างกันไปตามลักษณะของเนื้อหาหรือการ เคลื่อนไหวที่ถูกกําหนด 
การขยายเฟรม
ขยายเฟรม คือ การขยายช่วงเวลาในการแสดงเนื้อหาให้ยาวออกไปทั้งภาพเคลื่อนไหว และภาพนิ่ง สามารถใช้วิธีในการขยายเฟรมได้เช่นเดียวกัน
การเลือกเฟรม
เมื่อจะจัดการกับเฟรมของมูฟวี่ต้องทำการเลือกเฟรมก่อนซึ่งวิธีเลือกเฟรมแบ่งออกเป็นหลายกรณี 
การแทรกเฟรม
ถ้าเราต้อการเพิ่มเฟรมแทรกระหว่างเฟรมหนึ่งกับอีกเฟรมหนึ่ง สามารถทําได้โดยการคลิกขวา
ตรงตําแหน่งเฟรมที่ต้องการ จากนั้นเลือก Insert Frame เพื่อเพิ่มเพรม หรอ Insert > Timeline > Frame
การลบเฟรม
คลิกขวาที่คีย์เฟรมที่ต้องการลบ และเลือก Remove Frames หรือสามารถเลือก insert > Timeline > Remove Frames
การย้ายเฟรม
การย้ายเฟรมให้คลิกเลือกเฟรมที่ต้องการย้าย แล้วลากเฟรมไปวางที่ใหม่
คีย์เฟรม (Keyframe)
โดยปกติเมื่อมีการเปิดไฟล์ใหม่ขึ้นมาจะปรากฏเฟรมที่ 1 ของเลเยอร์ 1 ขึ้นมาอัตโนมัติ สามารถ สังเกตได้จากจุดที่อยู่ในเฟรม คีย์เฟรมเป็นตัวช่วยในการกําหนดขนาดความยาวของมฟรีได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น